ตำนานปรับปรา นิทานเทวปกรณ์
ฮันซอจุน |
นิทานเทวปกรณ์หรือตำนานปรับปรา นิทานเทวปกรณ์ หรือตำนานปรัมปรา เป็นเรื่องที่อธิบายถึงกำเนิดจักรวาล กำเนิดโลก กำเนิดมนุษย์ สัตว์ พืช หรืออธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ลม ฝน กลางวันกลางคืน จันทรคราส สุริยคราส ฟ้าแลบฟ้าร้อง ตลอดจนเป็นเรื่องเล่า ที่ใช้อธิบายที่มาของพิธีกรรม ตำนานปรัมปราที่อธิบายกำเนิดโลกและมนุษย์ ภาคเหนือมีตำนานปรัมปรา ที่แสดงให้เห็นความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับ แถน ว่า เป็นผู้สร้างมนุษย์ เชื่อว่า ชีวิตมนุษย์จะเป็นอย่างไร ก็ย่อมแล้วแต่แถนกำหนด แถนจะทำให้มนุษย์เจ็บป่วยได้ ถ้ามนุษย์ทำให้แถนไม่พอใจ มนุษย์จึงมีประเพณีบูชาเซ่นสรวงแถน ในตำนานของภาคเหนือกล่าวถึงแถนว่า เป็นผู้สร้างมนุษย์คู่แรก ที่มีชื่อว่า ปู่สังกะสา-ย่าสังกะสี หรือ ปู่สางสีและย่าสางไส้ โดยเล่าว่า ปู่สางสีและย่าสางไส้เป็นมนุษย์คู่แรก ซึ่งต่อมามีลูก ๑๒ คน ปู่สางสีและย่าสางไส้จึงเอาดินมาปั้นเป็นสัตว์ ๑๒ ตัว ให้ลูกเล่น สัตว์ ๑๒ ชนิดนี้คือ สัตว์ประจำปี ๑๒ ปี ได้แก่ หนู วัว เสือ กระต่าย นาค งู ม้า แพะ ลิง ไก่ หมา และช้าง ต่อมาลูกๆ ของปู่สางสีและย่าสางไส้ ก็แต่งงานกันเองระหว่างพี่น้อง และมีลูกหลานเหลนสืบต่อกันมา มนุษย์ทุกวันนี้จึงได้ชื่อว่า สืบเชื้อสายมาจากปู่สางสีและย่าสางไส้นั่นเอง ในตำนานพื้นบ้านอีสาน ก็มีความเชื่อว่า มีผู้สร้างโลก ผู้สร้างมนุษย์ และเรียก คู่สร้าง นี้ว่า ปู่สังกะสา - ย่าสังกะสี เช่นเดียวกับทางภาคเหนือ นอกจากนั้น ในท้องถิ่นอีสานยังมีความเชื่อเรื่องมนุษย์เกิดจากน้ำเต้า ซึ่งตรงกับความเชื่อของคนลาวโบราณ ตำนานนี้ เล่าถึงกำเนิดมนุษย์เผ่าพันธุ์ต่างๆ ว่า เดิมทีมนุษย์บูชาแถน และต้องเซ่นไหว้แถน แต่ต่อมามนุษย์ลืมเซ่นไหว้แถน แถนจึงโกรธ และบันดาลให้น้ำท่วมบ้านท่วมเมือง มนุษย์จึงได้ต่อแพ แล้วล่องแพขึ้นไปเฝ้าพญาแถน ซึ่งเป็นเทวดาอยู่เมืองสวรรค์ ต่อมาแถนจึงบันดาลให้น้ำลด และให้ควายลงมาช่วยมนุษย์ทำนา สนับสนุนบทความโดย allforbet เว็บ สล็อตออนไลน์ ที่ดีที่สุด ต่อมาควายตาย และเกิดมีน้ำเต้าลูกใหญ่ออกมาทางรูจมูก แล้วแถนได้ใช้เหล็กเจาะน้ำเต้า ปรากฏว่า มีคนไหลออกมาจากน้ำเต้าสามวันสามคืน เป็นคนที่มีผิวคล้ำ คือ พวกลาวเทิง ข่า ขมุ ครั้งที่สอง ใช้สิ่วเจาะ มีคนผิวขาวไหลออกมาสามวันสามคืน คือ พวกลาวลุ่ม ไทดำ ไทขาว ไทพวน ไทลื้อ แถนยังได้สอนวิธีการทำนา การเพาะปลูก การสร้างบ้านเรือน และการทอผ้าให้แก่มนุษย์ ในทางพุทธศาสนา ก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับกำเนิดโลกและมนุษย์ ที่เล่าถึงสมัยปฐมกัลป์ว่า เกิดไฟไหม้โลก ต่อมาฝนตกอย่างหนัก จนน้ำท่วมโลก เมื่อน้ำแห้งแล้ว ดินมีกลิ่นหอมขึ้นไปถึงสวรรค์ เทวดาได้กลิ่นหอม ก็เหาะลงมากินดิน เมื่อกินง้วนดินหอมแล้ว เหาะกลับสวรรค์ไม่ได้ จึงต้องอยู่บนโลก และเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์สืบมา ในทางภาคเหนือและอีสาน มีตำนานบางสำนวน ที่เอาแนวคิดเรื่อง ปู่สังกะสา-ย่าสังกะสี ไปปนกับแนวคิดทางพุทธศาสนา เรื่องเทวดาลงมากินง้วนดิน และเรียกเทวดาว่า พรหมสังสี-พรหมสังไส้ ตำนานอธิบายปรากฏการณ์จันทรคราสและสุริยคราส ตำนานพื้นบ้านของไทยหลายถิ่น โดยเฉพาะทางภาคเหนือ เล่าถึงสาเหตุที่เกิดสุริยคราส และจันทรคราสไว้ว่า เดิมทีพระอาทิตย์ พระจันทร์ และพระราหู เป็นมนุษย์ และเป็นพี่น้องกัน อยู่มาวันหนึ่งทั้ง ๓ คนหุงข้าว เพื่อจะตักบาตร พระอาทิตย์กับจันทร์แย่งเอาข้าวสวยไปหมด เหลือแต่ข้าวไหม้ก้นหม้อให้ราหู ราหูจึงโกรธมาก เมื่อทั้ง ๓ คนตายไป ก็ไปเกิดเป็นพระอาทิตย์ พระจันทร์ และพระราหู ด้วยแรงอาฆาต พระราหูจึงต้องเข้าไปบังแสงพระอาทิตย์ และพระจันทร์ ทุกครั้งที่โคจรมาพบกันบนท้องฟ้า บางเรื่องก็เล่าว่า พระอาทิตย์ และพระจันทร์ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน มีบ่าวชื่อว่า ราหู วันหนึ่งไปทำบุญที่วัด ราหูลืมนำช้อนตักแกงไปด้วย ต้องกลับไปเอาที่บ้าน เมื่อราหูเอาช้อนมาแล้ว สองพี่น้องได้ใช้ช้อนตีหัวราหูต่อหน้าผู้คน ราหูอับอาย และแค้นใจมาก จึงอธิษฐานว่า ชาติหน้าขอให้ได้พบกันอีก ถึงแม้พระอาทิตย์ และพระจันทร์ จะมีบุญวาสนาเพียงใด ก็จะพยายามทำให้มัวหมอง เป็นที่ขายหน้าแก่คนทั้งหลายให้ได้ พระราหูจึงคอยทีอยู่เสมอ เมื่อสบโอกาสก็จะแก้แค้น ทำให้พระอาทิตย์ และพระจันทร์มัวหมอง ตำนานอธิบายพิธีจุดบั้งไฟเพื่อขอฝน ฝนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องอาศัยน้ำในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และอาบกิน ในภาคเหนือ และภาคอีสานมีความเชื่อเหมือนกันว่า ผู้ที่คอยดูแลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล คือ พญาแถน มีตำนานทางอีสานเรื่องหนึ่งคือ พญาคันคาก ได้กล่าวถึงบทบาทหนึ่งที่ในการดูแลฝนฟ้าของพญาแถน ตามเรื่องเล่าว่า เดิมมนุษย์บูชาแถนอย่างสม่ำเสมอ แถนจึงบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ต่อมาพญาคันคากได้เป็นผู้ครองเมืองมนุษย์ เป็นผู้มีทศพิธราชธรรม มนุษย์จึงบูชาพญาคันคาก และเลิกบูชาแถน แถนจึงไม่ให้ฝนแก่มนุษย์ จึงเกิดภาวะอดอยากแห้งแล้ง ฝนไม่ตก ราษฎรทำไร่ทำนาไม่ได้ จึงเกิดข้าวยากหมากแพง ทำให้เดือดร้อนไปทั่ว พญาคันคากจึงรวบรวมกองทัพ เพื่อไปรบกับแถนบนเมืองฟ้า กองทัพพญาคันคากประกอบด้วยงู กบ เขียด คางคก มด ต่อ แตน เป็นต้น พญาคันคากได้รบกับแถน จนกระทั่งแถนยอมแพ้ และบอกว่า ต่อไปนี้ถ้าต้องการฝนเมื่อใด ก็ให้จุดบั้งไฟขึ้นมาบอก ตำนานเรื่องนี้ จึงเป็นที่มาของประเพณีการจุดบั้งไฟ เพื่อขอฝนจนทุกวันนี้ Link: คลิ๊กที่นี่ |