สรรพคุณและประโยชน์ของต้นเขยตาย
อิมจู ยองฮี |
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นเขยตาย ลักษณะของเขยตาย ต้นเขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน ใบเขยตาย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม มีใบย่อยประมาณ 3-5 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมถึงกลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบหรือมีรอยจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีจุดต่อม หลังใบเรียบลื่นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า ใบด้านบน ๆ จะมีสีแดงที่ฐาน ดอกเขยตาย ออกดอกเป็นช่อเชิงลดแยกแขนงหรือออกเป็นกระจุกประมาณ 12-15 ดอก ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีขาว มี 5 กลีบ ขนาด 4-5 x 2-2.5 มิลลิเมตร เรียงซ้อนกันเป็นวง ผิวมีต่อมจุด รูปไข่กลับ ส่วนกลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร รูปแหลมกึ่งรูปไข่ มีขนอ่อนที่ส่วนปลาย มีใบประดับหุ้ม โดยชั้นบนจะมี 5 กลีบใหญ่ และมีส่วนย่อยเล็ก ๆ หลายอัน มีต่อมซึ่งเป็นร่อง ส่วนก้านชูดอกสั้นมาก เกสรเพศเมียออกเรียงเป็นวง ตรงกลางแกนดอกมีเกสรเพศผู้เป็นแท่ง ส่วนรังไข่มีขนาดกว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร เป็นรูปไข่ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8-10 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ผลเขยตาย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.18 เซนติเมตร ปลายผลแหลม ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูใส ฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลม เป็นลาย ติดผลในช่วงประมาณเดือนมีนาคม สนับสนุนบทความโดย lucaclub88 เว็บ บาคาร่า ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรรพคุณของเขยตาย ใบใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้เบาหวาน (ใบ) รากมีรสเมาขื่นปร่า ใช้เป็นยาแก้ไข้กาฬ ไข้รากสาด และเป็นยาลดไข้ (ราก) รากและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ แก้ไข้ (ราก, ใบ) รากและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคบิดท้องเดิน (ราก, ใบ) ในบังกลาเทศจะใช้น้ำคั้นจากใบผสมกับน้ำตาล ใช้กินตอนท้องว่างเพื่อถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ (ใบ) เนื้อไม้ เปลือกต้น และราก มีสรรพคุณเป็นยาขับน้ำนม (เนื้อไม้, เปลือกต้น, ราก) น้ำคั้นจากใบใช้ผสมกับน้ำตาลกินตอนท้องว่างเป็นยาแก้โรคตับ (ใบ) เปลือกต้นมีรสเมาร้อน ใช้เป็นยาแก้ฝีทั้งภายในและภายนอก (เนื้อไม้, เปลือกต้น) รากใช้ฝนทาแก้โรคผิวหนังพุพอง ทาแผลที่อักเสบ (ราก) ใบนำมาบดผสมกับขิง ใช้รักษาผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มพุพอง หรือคันอักเสบ (ใบ) รากใช้เป็นยากระทุ้งพิษ แก้พิษฝีทั้งภายในและภายนอก ใช้ฝนกับน้ำกินและทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น พิษงู (จากงูที่มีพิษไม่รุนแรง) พิษตะขาบกัด พิษปลาดุกแทง ปลาแขยงปักมือ ฯลฯ หรือจะนำรากมาตำใส่น้ำมะนาวหรือเหล้าพอกทิ้งไว้สักครู่ก็ได้ อาการก็จะหาย (ราก)หรือใช้เปลือกต้นเป็นยากระทุ้งพิษ แก้พิษงูหรือพิษนาคราช แก้พิษต่าง ๆ แก้พิษไข้ (เปลือกต้น) ใบนำมาขยี้หรือบดผสมกับเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์หรือน้ำมะนาว ใช้เป็นยาทารักษางูสวัด เริม ไฟลามทุ่ง ขยุ้มตีนหมา ลมพิษ (ใบ) ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม เกลื่อนฝีให้ยุบ ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด (ราก) ดอกและผลมีรสเมาร้อน ใช้เป็นยาแก้หิด (ดอกและผล) ประโยชน์ของเขยตาย ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน ใบใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร Link: คลิ๊กที่นี่ |