เอาโลหิตนักพระสัฏฐาล้างพระบาท
ต้นข้าว |
เอาโลหิตนักพระสัฏฐาล้างพระบาท พระราชพิธีอันชวนขนพองสยองเกล้านี้เข้าใจว่า หนังสือประวัติศาสตร์คงนํามาจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตอนสมเด็จพระนเรศวรตีเมืองละแวกเมื่อปี พุทธศักราช 2136-2137 ซึ่งระบุว่า เมื่อตีเมืองละแวกได้แล้ว ทรงประกอบพระราชพิธีปฐมกรรม จึงตรัสว่า เราได้ออกวาจาไว้แล้วว่า ถ้ามีชัยแก่ท่านจะทําพิธีประถมกรรม เอาโลหิตท่านล้างบาทาเสียให้จงได้ตรัสดังนั้นแล้วก็มีพระราชบริหารแก่มุขมนตรีให้ตั้งการพิธีประถมกรรมโดยสาตร พระโหราธิบดีชีพ่อพราหมณ์จัดแจงการนั้นเสร็จ จึงอัญเชิญสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นบนเกย เจ้าพนักงานองครักษ์เอาตัวพระยาละแวกเข้าใต้เกยตัดศีรษะ เอาถาดรองโลหิตขึ้นไปชําระพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว พระโหราธิบดีก็ลั่นฆ้องชัย ชีพ่อพราหมณ์เป่าสังข์ ประโคม ดุริยดนตรี ถวายมูรธาภิเษก ทรงอาเศียรภาทโดยสาตรพิธีเสร็จเสด็จเข้าพลับพลา สนับสนุนบทความโดย lucaclub88 เว็บ บาคาร่าออนไลน์ ที่ดีที่สุด เนื้อหาในพระราชพงศาวดารตอนนี้ทําให้คนไทยจํานวนไม่น้อยมีความเชื่อว่า พระราชพิธีปฐมกรรม คือการ ประหารศัตรูแล้วเอาโลหิตมาล้างพระบาท ความเชื่อดังกล่าวปรากฏในภาพจิตรกรรมเรื่องพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่พระอุโบสถวัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา ซึ่งพระยาอนุศาสน์จิตรกร เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 จิตรกรรมดังกล่าวมีภาพตอนพระราชพิธีปฐมกรรมพระยาละแวก ซึ่งน่าจะได้เค้าไปจากความในพระราชพงศาวดารเช่นกัน รายละเอียดต่างๆ ที่กล่าวในพระราชพงศาวดารเกือบทุกฉบับ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับพระราชกฤษฎาภินิหารของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แต่ละเรื่องเป็นการบันทึกย้อนอดีต เรียบเรียงขึ้นภายหลังรัชสมัยของพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นๆ เป็นร้อย ๆ ปี จะเห็นได้ว่าสํานวนโวหารในพระราชพงศาวดารประกอบด้วยภาษาเชิงวรรณศิลป์ปนอยู่เป็นอันมาก (ยกเว้นพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์) เนื้อความหลายตอนกล่าวว่า “มีพระราชดํารัสว่าอย่างนั้น มีพระราชดําริว่าอย่างนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เชื่อได้ว่าผู้บันทึกพระราชพงศาวดาร โดยเฉพาะพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ไม่ เคยได้ยินพระราชดํารัสจากพระโอษฐ์ เมื่อมีการบันทึกเรื่องราวย้อนหลังจึงเพิ่มเติมเนื้อความตามที่เห็นว่าควรจะเป็นลงไปด้วย เช่นเนื้อความในหนังสือซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งให้แม่ทัพหน้าของไทยมีไปถึงนักพระสัฏฐาว่า ด้วยแต่ก่อนกรุงกัมพูชาธิบดีเคยถวายหิรัญสุวรรณมาลาเครื่องราชบรรณาการสองพระนครก็เป็น สุวรรณปัฐพี่เดียวกัน สมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร์ก็ได้ความสุขานุสุข เป็นไฉนพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีมิได้ตั้งอยู่ในสัตยานุสัตย์ คิดอหังการกลับเป็นประจามิตรให้เคืองใต้พระบาทยุคล เอาโลหิตมาเป็นน้ำล้างดาบทหารไทยจะให้เหลืออยู่แต่น้ำกับฟ้า ป่ากับดินดังนี้ก็ดีมควร ตัวอย่างที่ยกมานี้จากพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา จะเห็นว่าสํานวนภาษาประกอบด้วยวรรณศิลป์มีการขัดเกลาปรุงแต่งอย่างสละสลวย ลักษณะสํานวนภาษาเป็นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งบันทึกขึ้นภายหลังรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรหลายร้อยปี สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงพระราชพิธีปฐมกรรมที่เมืองละแวก ไว้ในหนังสือ พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีเนื้อหาทํานองเดียวกับพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา คือ ครั้นถึงเดือน 5 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. 2137 สมเด็จพระนเรศวรทรงพระคชาธารออกบัญชาการ รบเอง พอดึกเวลา 4 นาฬิกา ก็ให้สัญญากองทัพ ให้ตีเมืองพร้อมกันทุกด้าน ข้าศึกต่อสู้รบพุ่งเป็นสามารถ แต่ พอรุ่งสว่างกองทัพไทยก็เข้าเมืองได้ และจับได้ทั้งนักพระ สัฏฐาเจ้ากรุงกัมพูชา และพระศรีสุพรรณมาธิราช เมื่อได้เมืองละแวกแล้วสมเด็จพระนเรศวรตรัสสั่งให้ทําพิธีปฐมกรรม และเอาตัวนักพระสัฏฐาไปประหารชีวิต ตามที่ได้ทรงปฏิญาณไว้ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้เพียงสั้นๆ ว่า ศักราช 955 ปีมะเส็ง (พ.ศ. 2136)เสด็จพยุหยาตราไปเอาเมืองละแวก แลตั้งทัพชัยตําบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้นได้ตัวพระยาศรีพรรณ ในวันอาทิตย์ แรม ค่ำ 1 ความดังกล่าวระบุว่าได้ตัว พระยาศรีพรรณ ซึ่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับอื่น ๆ เรียกว่า “พระศรีสุพรรณมาธิราช” มิได้กล่าวถึงนักพระสัฏฐาและการประกอบพระราชพิธีปฐมกรรมแต่อย่างใด ซึ่งหาก พิธีปฐมกรรม ครั้งนั้นคือการ “เอาโลหิตนักพระสัฏฐามาล้างพระบาท” อันเป็นเรื่องพิสดารไม่เคยปรากฏมาก่อน ก็น่าที่จะต้องมีการบันทึกไว้ ประเด็นเกี่ยวกับนักพระสัฏฐานี้ ม.ล.มานิจ ชุมสาย เคยเสนอบทความเรื่อง พระนเรศวรกับกรุงละแวกจากบันทึกของชาวฝรั่งเศสและจากบันทึกของบาทหลวง ซานอโตนิโอ ชาวโปรตุเกส” บทความดังกล่าวเสนอหลักฐานใหม่ว่า นักพระสัฏฐามิได้ถูกประหารเอาเลือดมาล้างพระบาทสมเด็จพระนเรศวรตามที่เคยเชื่อกันมา แต่หนีข้ามเขตแดนญวนไปอยู่ที่เมืองเชียงแตงในเขตลาว โดยอ้างบันทึกจดหมายเหตุของชาวต่างประเทศที่ทราบรายละเอียดของเหตุการณ์ในครั้งนั้น “นักพระสัฏฐาคิดต่อสู้กับกองทัพไทยของสมเด็จพระนเรศวรโดยส่งมหาอุปราชไปยังเมืองบริบูรณ์ อุปราชเมื่อทราบว่าพระเจ้าแผ่นดินได้หนีไปจากกรุงละแวกแล้ว แหกค่ายทิ้งเมือง (บริบูรณ์) มายังกรุง ละแวก ซึ่งอาจได้ประโยชน์มากกว่าจะอยู่ที่เดิม เจ้ากรุงละแวกจึงเตรียมตัวต่อสู้ กองทัพไทยที่ติดตามมาโดยใกล้ชิด พลเมืองหมดกําลังใจ กลัวการยกเข้าปล้นเมือง ท้อถอยต่อการสู้รบและในที่สุดก็เสียเมืองใน ค.ศ. 1593 อุปราชพร้อมทั้งครอบครัวถูกจับเอาตัวไปกรุงศรีอยุธยาพร้อมทั้งพลเมือง 90,000 คน พระเจ้าแผ่นดินกับราชบุตรทั้ง 2 องค์หนีไปอยู่ที่เชียงแตง ทัพไทยยกเข้าปล้นเมือง เผาเมือง ขนราษฎรไปไว้ที่ต่างๆ ของเมืองไทย ทรัพย์สมบัติ หนังสือธรรม บันทึกประวัติศาสตร์ หนังสือกฎหมาย ขนเอาไปไว้อยุธยาหรือทําลายทั้งสิ้น Link: คลิ๊กที่นี่ |