เสด็จกลับประเทศไทย พร้อมพระบรมอัฐิของพระสวามี
ต้นข้าว |
เสด็จกลับประเทศไทย พระองค์เสด็จนิวัตประเทศไทยพร้อมพระบรมอัฐิของพระสวามี ในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสด็จนิวัตกรุงเทพมหานคร พร้อมกับพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ ที่อันควรแก่พระบรมราชอิสริยยศ ในพระบรมมหาราชวัง สำหรับพระราชฐานะของพระองค์เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทยนั้น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการพระราชวัง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และหม่อมราชวงศ์เทวาธิราช เทวกุล ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่า สมเด็จพระบรมราชินีรำไพพรรณี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชินีโดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ในงานพิธีราชาภิเษกรัชกาลที่ ๗ จริงอยู่ทุกประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย เมื่อมีการเปลี่ยนรัชกาลฐานะของพระราชินีย่อมเปลี่ยนไป เช่น พระราชินีแมรี่และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี ฉะนั้น เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติแล้วและการแต่งตั้งพระราชินีรำไพพรรณีไม่มีการเพิกถอน ท่านก็น่าจะคงเป็นพระราชินีตามเดิม แต่ไม่ใช่พระราชินีซึ่งพระราชสวามีทรงราชย์ Queen Consort เปลี่ยนเป็นพระราชินีวิธวา Queen Dowager ฉะนั้น น่าจะขนานพระนามถวายโดยอนุโลมพระสวามีว่า สมเด็จพระบรมราชินี รัชกาลที่ ๗ สนับสนุนบทความโดย lucaclub88 เว็บ บาคาร่าออนไลน์ ที่ดีที่สุด แต่เมื่อพระองค์เสด็จกลับมายังพระตำหนัก วังศุโขทัยซึ่งเคยเป็นที่ประทับ ได้กลับกลายเป็นของกระทรวงสาธารณสุขไปแล้ว พระองค์จึงทรงต้องเสด็จไปประทับในตำหนักของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก คือวังสระปทุมแทน เนื่องจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เชิญเสด็จสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีไปอยู่ร่วมกับพระองค์ โดยทรงไปประทับอยู่ที่วังสระปทุมนานถึง 3 ปี จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับที่พระตำหนักวังศุโขทัยอีกครั้ง หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงประกอบพระราชกรณียกิจแบ่งเบาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้วยในขณะนั้นเหล่าพระโอรสและพระธิดาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินียังประทับอยู่ในประเทศอังกฤษต่อไปดังเดิม ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว เพราะการคมนาคมติดต่อระหว่างประเทศยังไม่มีความปลอดภัยในช่วงสงคราม และเมื่อประเทศไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น คนไทยจำนวนไม่น้อยอพยพกลับประเทศไทยหลังการประกาศสงคราม แต่ก็มีอีกจำนวนหนึ่งที่พำนักอยู่ในต่างประเทศได้ประกาศตัวเป็นเสรีไทย ทำงานประสานกับเสรีไทยในกรุงเทพมหานคร โดยรัฐบาลอังกฤษยังคงให้เกียรติพระองค์มาตลอด แม้ว่ารัฐบาลอังกฤษได้สั่งห้ามมิให้ชาติศัตรูใช้รถยนต์ ยกเว้นแต่กรณีพิเศษซึ่งพระองค์ก็ได้สิทธิพิเศษนั้น และคอยจัดน้ำมันเบนซินซึ่งหายากในช่วงนั้นมาให้พระองค์ใช้อยู่เป็นประจำสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี แม้จะมิได้มีพระนามร่วมในคณะเสรีไทยอย่างเป็นทางราชการ แต่ก็ได้พระราชทานพระกรุณาอุดหนุนจุนเจือกิจการของเสรีไทยในประเทศอังกฤษมาตลอด ซึ่งในขณะนั้นมีเสรีไทยทั้งหมดเพียง 36 คนในประเทศอังกฤษ สวรรคต พระเมรุมาศ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงเริ่มมีพระอาการประชวรด้วยพระโรคความดันพระโลหิตสูง ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ในขณะที่มีพระชนมพรรษาได้ 71 พรรษา และวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เวลา 15.50 นาฬิกา พระองค์เสด็จเสด็จสวรรคตด้วยพระหทัยวายโดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนักวังศุโขทัยวมพระชนมพรรษาได้ 79 พรรษา 5 เดือน 2 วัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังจัดการพระบรมศพถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณี โดยอัญเชิญพระบรมศพถวายพระลองทองใหญ่ ประกอบพระโกศ ประดิษฐานเหนือพระแท่นสุวรรณเบญจดลจำหลักลายประดับรัตนชาติภายใต้สัปตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตร 7 ชั้น) ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวาย มีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสวรรคตเป็นต้นไปนอกจากนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้สถานที่ราชการต่าง ๆ ลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน และให้ข้าราชการไว้ทุกข์เป็นเวลา 15 วันด้วย สำหรับพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพออกแบบโดยนายประเวศ ลิมปรังษี โดยใช้พระเมรุมาศองค์กลางของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถมาเป็นแนวทางในการออกแบบ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชดำรัสถึงแนวทางการออกแบบว่า ขอให้ดำเนินการโดยประหยัด แต่ให้ครบถ้วนตามขัตติย ราชประเพณี และสมพระเกียรติยศพระบรมศพ อีกประการหนึ่งฐานพระเมรุมาศไม่ควรสูงนักจะเป็นการลำบาก แก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่จะขึ้นถวายพระเพลิงพระบรมศพซึ่งทรงเจริญพระชนมายุมากพระพรรษาด้วยกันหลายพระองค์ พระเมรุมาศเป็นอาคารทรงปราสาทแบบจตุรมุข ยอดทรงมณฑปประกอบด้วยพรหมพักตร์ ยอดบนสุดประดิษฐานสัปตปฎลเศวตฉัตร ตัวอาคารประกอบด้วยชั้นฐานทักษิณสำหรับองค์พระเมรุมาศนั้น ส่วนหลังคาประกอบด้วยมุขทิศและเครื่องยอด ประดับตกแต่งด้วยลวดลายกระดาษทองย่นฉลุสาบสี หน้าบันประดับพระนามาภิไธยย่อ ร.พ. องค์พระเมรุเป็นอาคารโถง ตกแต่งด้วยม่านผาตาด มีฉากบังเพลิง ผนังภายนอกประดับลายกระดาษทองย่นฉลุลายสีแบบลงยา ผนังภายในใช้สีชมพูเป็นพื้นส่วนฐานทักษิณมีบันได 4 ทิศ ประดับด้วยรูปปั้นเทวดา ในท่านั่งบนแท่นเสาพนักลูกกรงระเบียงโดยรอบ ตามคติไตรภูมิตามแบบโบราณราชประเพณีทุกประการ ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2528 จึงมีการจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง หลังจากนั้น จึงมีการเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานองค์ซ้าย พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และเชิญพระราชสรีรางคารไปบรรจุที่ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรส ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ด้านการศึกษา พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์สินและพระราชทรัพย์เป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,715,041.68 บาท เป็นทุนเริ่มต้นในการจัดตั้ง มูลนิธิประชาธิปก (ต่อมาคือ มูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี) เพื่อสนับสนุนกิจการของโรงพยาบาลพระปกเกล้า วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในการก่อสร้าง จัดซื้ออุปกรณ์ ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของสถาบันดังกล่าว และเพื่อให้เงินสมทบ ทุนประชาธิปกบรมราชานุสรณ์ และช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2511 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงตัดสินพระราชหฤทัยขายวังสวนบ้านแก้วให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากทางกระทรวงต้องการที่ดินสร้างโรงเรียนฝึกหัดครูจันทบุรี (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี) จึงทรงตัดสินพระทัยขายให้ในราคาถูก ดังนั้นพระองค์จึงต้องเสด็จกลับมาประทับอยู่ในวังศุโขทัยตามเดิม แม้กระนั้นก็มิได้ทรงละทิ้งกิจการทอเสื่อและผลิตสินค้าจากเสื่อ โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินกิจการเช่นเคยแต่ในปริมาณงานที่ลดลง และโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระตำหนักน้ำในวังศุโขทัยที่อยู่ติดริมคลองสามเสนเป็นสถานที่ทอเสื่อและผลิตสินค้าที่ทำจากเสื่อ ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของพระองค์เอง Link: คลิ๊กที่นี่ |