พระราชพิธีสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี
ต้นข้าว |
อภิเษกสมรส วันอภิเษกสมรส พระราชพิธีสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี เมื่อปี พ.ศ. 2460 หลังจากสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ได้ทรงลาสิกขาจากการผนวช ณ พระตำหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ก็ได้กราบบังคมทูลพระกรุณา และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะเสกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีอภิเษกสมรสพระราชทานขึ้น ณ วังศุโขทัย ถนนสามเสน และพระราชพิธีอภิเษกสมรสที่ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน การอภิเษกสมรสในครั้งนี้ถือเป็นพระราชพิธีอภิเษกสมรสครั้งแรก หลังจากการตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์ รวมทั้งยังเป็นการแต่งงานแบบตะวันตกอย่างแท้จริง กล่าวคือมีการถามความสมัครใจของคู่บ่าวสาวด้วยส่วนวังศุโขทัยนั้น ได้สร้างขึ้นก่อนที่ทั้ง 2 พระองค์จะทรงเสกสมรสกัน โดยเป็นเรือนหอที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานสร้างให้บริเวณคลองสามเสน และพระราชทานนาม วังศุโขไทยทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณี ขึ้นเป็น หม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระชายาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา สมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้หม่อมเจ้ารำไพพรรณี ได้เลื่อนยศขึ้นเป็น พระวรราชชายา มีพระนามว่า หม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระวรราชชายา ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การนี้พระองค์ได้สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระวรราชชายา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีซึ่งนับเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์แรกที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินีในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนบทความโดย lucaclub88 เว็บ บาคาร่าออนไลน์ ที่ดีที่สุด
โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ประทับอยู่ที่วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศทางทวีปยุโรป และได้ทรงรับการผ่าตัดและรักษาพระเนตร ณ ประเทศอังกฤษ การสละพระราชบัลลังก์ของพระราชสวามี พระองค์และพระราชสวามีในอิริยาบถสบาย ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ประทับ ณ วังไกลกังวล เพื่อให้พ้นจากสองฝ่ายทั้งสองฝ่ายจึงเสด็จฯ โดยเรือศรวรุณ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ท่ามกลางสภาวะอากาศเลวร้ายใช้เวลากว่าสองวัน จึงถึงจังหวัดสงขลา ไปประทับ ณ ตำหนักเขาน้อย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงเล่าความในพระราชหฤทัยครั้งนั้นว่า ฉันไม่คิด ไม่รู้สึกอะไรทั้งนั้น ถ้าจะตายก็ตายด้วยกัน ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 (นับศักราชตามเดิม) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ สู่ทวีปยุโรปแต่ก็ยังมีการขัดแย้งเจรจาเกี่ยวกับการเมืองกับทางกรุงเทพมหานครสืบเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุด ก็มีการขัดแย้งกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาล เช่นในเรื่องที่รัฐบาลได้แต่งตั้งพรรคพวกเข้าเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรประเภทที่สองและรัฐบาลไม่ได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างเพียงพอ ไม่ตรงกับพระราชปณิธานอย่างแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงแสดงความไม่เห็นพ้องกับคณะผู้บริหารประเทศด้วยการตัดสินพระราชหฤทัยทรงสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่ยังประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มีพระราชดำรัสถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า เห็นพ้องต้องกันกับพระราชสวามีในการตัดสินพระราชหฤทัยสละราชย์ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศที่จะทรงสละราชสมบัติแล้ว พระองค์พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และพระประยูรญาติสนิทบางพระองค์ จึงทรงย้ายที่ประทับจากใจกลางเมืองไปอยู่ในชนบทใกล้กรุงลอนดอน ทรงวางพระองค์เยี่ยงคหบดีชนบท ทรงจัดสวน เลี้ยงนกเลี้ยงปลา เสด็จประพาสทัศนศึกษาตามโบราณสถานต่าง ๆ เป็นต้น ในช่วงที่ประทับอยู่ในสหราชอาณาจักรนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระประชวรอยู่เนือง ๆ แต่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีก็ยังทรงปรนนิบัติพระองค์ จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ขณะที่ทั้งสองพระองค์ประทับอยู่ที่พระตำหนักคอมพ์ตัน ตำบลเวอร์จิเนียวอเตอร์ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยพระหทัยวาย มีพระชนมพรรษา 48 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงจัดการเรื่องพระบรมศพและถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการภายในเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ปีนั้น นับว่าเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งต้องทรงสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป Link: คลิ๊กที่นี่ |